หน่วยที่1

หน่วยที่1

  • หน้าหลัก
  • หน่วยที่2
  • หน่วยที่3
  • หน่วยที่4

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน


ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ การทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในงานเฉพาะด้านซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบ ผู้ใช้จำเป็นต้องเลือกหาซอฟต์แวร์ให้ตรงตามความต้องการนั้นๆโดยเฉพาะเช่น การจัดพิมพ์รายงาน นำเสนองาน จัดทำบัญชี ตกแต่งภาพ ออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น  นอกจากนั้นต้องคำนึงถึงงบประมาณในการจัดหาซอฟแวร์มาใช้ด้วยว่ามีเพียงพอหรือไม่เพียงใด ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งเป็น2ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปและซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
4.1 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
     ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป ( general purpose software ) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง ผู้ใช้จึงต้องเลือกซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การสร้างตารางทำงาน การนำเสนอผลงาน เป็นต้น
2 ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ( spreadsheet software ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคำนวณ วิเคราะห์ตัวเลข เพื่อใช้ในด้านการบัญชี สถิติ คณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ มีเครื่องคำนวณเตรียมไว้สำเร็จ สามารถสั่งคำนวณตามสูตร หรือเงื่อนไขที่กำหนด ซอฟต์แวร์ตารางทำงานนิยมใช้ เช่น microsoft Excle,Open office Caic ในโปรแกรมชุด Pladao Office เป็นต้น
3 ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ( database managenent software ) การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือ การเก็บข้อมูล และจัดเก็บในเครื่องซึ่งเรียกว่า ฐานข้อมูลเพื่อช่วยในการจัดเก็บค้นทำงานและสรุปผลข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์นิยมใช้ เช่น Dbase,Paradox,Foxbase,Microsoft Access เป็นต้น
4 ซอฟต์แวร์นำเสนอ ( presentation software ) เป็นโปรแกรมที่ใช้นำเสนอข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สร้างเอกสารประกอบด้วยตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว โดยแสดงออกมาทีละรายการ รวมทั้งยังสามารถใส่เสียงนำเสนอได้ เพื่อใช้ประกอบการบรรยาย เสนอผลงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Office Power point,Pladao Office เป็นต้น
5 ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิก และมัลติมีเดีย ( grachich and multimedia software ) เป็นกลุ่มซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับจัดการด้านกราฟิก และมัลติมีเดียมีความสามารถเหมือนผู้ช่วยในการออกแบบชิ้นงาน การตกแต่งภาพ วาดภาพ ปรับเสียง ตัดต่อภาพ รวมถึงการสร้างและออกแบบพัฒนาเว็บไซต์ เช่น Adobe InDesign,Adobe IIIustrator,Adobe Photoshop Macromedia Dreamweawer

เขียนโดย Unknown ที่ 23:44 ไม่มีความคิดเห็น:
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest
                                    
ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน





ซอฟต์แวร์ระบบ
คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น

คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบปฏิบัติการ ซึ่งช่วยให้มนุษย์ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ ให้แสดงภาพให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์เนื่องจากระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ กับฮาร์ดแวร์ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยรับเข้า และหน่วยส่งออก ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนระบบปฏิบัติการทั้งสิ้นเนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงานถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุ( load ) ระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น

ระบบปฏิบัติการกับการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานหรือกำกับดูแลการงานของคอมพิวเตอร์ ในการกำหนดว่าจะเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลไว้ในส่วนใดของหน่วยความจำ ดูแลการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมใช้งาน หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการส่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปปรากฏบนจอภาพ ควบคุมการพิมพ์ ตัวอย่างเช่น ควบคุมการแปลสัญญาณจากแป้นพิมพ์ให้เครื่องรับรู้ ควบคุมการบันทึกหรือการอ่านข้อมูลของเครื่องขับแผ่นบันทึก นอกจากนี้ในปัจจุบันการทำงานในลักษณะกลุ่ม และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทในการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง ทำให้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆจำเป็นต้องมีความสามารถในการทำงานและให้บริการบนเครือข่ายเพิ่มขึ้นโดยระบบปฏิบัติการมีหน้าที่จัดการงานในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จัดสรรให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมในเครือข่ายสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกัน เช่น การใช้งานเครื่องพิมพ์ร่วมกัน และ ควบคุมดูแลการใช้งานข้อมูลส่วนกลางซึ่งอยู่ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย โดยสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่ม มีระบบป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับข้อมูล

ประเภทของระบบปฏิบัติการ
เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้แต่ด้วยเครื่องคอมพิวคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมากระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และเราสามารถแบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1) ประเภทใช้งานเดียว (single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส

2) ประเภทใช้หลายงาน (multitasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน โดยระบบปฏิบัติการจัดสรรทั้งเวลาและเนื้อที่ที่ต้องใช้ในการประมวลผลคำสั่งของซอฟต์แวร์แต่ละชนิด เช่น แบ่งปันเวลาในการประมวลผลของซีพียูและแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่งของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 และ 98

3) ประเภทใช้งานหลายคน (multiuser)ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อต่อกับคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถในการจัดการสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา ระบบปฏิบัติการในกลุ่มนี้ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นที

เขียนโดย Unknown ที่ 23:38 ไม่มีความคิดเห็น:
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

ประเภทของซอฟต์แวร์

      










 ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

  • ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
  • เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้
    ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ

  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
เขียนโดย Unknown ที่ 23:20 ไม่มีความคิดเห็น:
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์









          ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ 


เขียนโดย Unknown ที่ 22:57 ไม่มีความคิดเห็น:
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest
บทความที่ใหม่กว่า หน้าแรก
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)

คลังบทความของบล็อก

  • ▼  2015 (6)
    • ►  กันยายน (2)
    • ▼  กรกฎาคม (4)
      •   ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน
      •                                      ซอฟต์แวร์ระ...
      • ประเภทของซอฟต์แวร์         ซอฟต์แวร์หร...
      • ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์
w.macromedia.com/go/getflashplayer" type="application/x-shockwave-flash" width="200" height="220">
Code Calendar by zalim-code.com

Free นาฬิกาน่ารัก

รายชื่อนักเรียน2/2

  • 01 ด.ช.กฤษดา ดิษสมบูรณ์
  • 02 ด.ช.ฐาปกรณ์ พิมหะศิริ
  • 03 ด.ช.ณัฐชนน หุ่นดี
  • 04 ด.ช.ธนภัทร วงศกรพัฒนา
  • 05 ด.ช.ธภัทร ตะวันสิริ
  • 06 ด.ช.ธราวิธ พึ่งสังวาลย์
  • 07 ด.ช.พงศกร พยัคฆศิริ
  • 09 ด.ช.รณษ ตรุยานนท์
  • 10 ด.ช.วริษพงษ์ ศักดิ์สิริวรกุล
  • 11 ด.ช.สิรวิชญ์ ไตรญาณ
  • 12 ด.ญ.กฤตภนภัทร จิราภรณ์
  • 13 ด.ญ.กฤติยาณี สำลี
  • 14 ด.ญ.กัลยา
  • 15 ด.ญ.กิตติยา เจริญสุข
  • 16 ด.ญ.กิตติยา วิชิตจิตตานนท์
  • 17 ด.ญ.กีรัตยา พันธุ์บ้านแหลม
  • 18 ด.ญ.โขมพัสตร์ พวงเดช
  • 19 ด.ญ.จังคนิภา ศรีนาแก้ว
  • 20 ด.ญ.ฐาปนี บุญเสี่ยง
  • 21 ด.ญ.ณชนก รอดพิทักษ์
  • 22 ด.ญ.ณัฐมน สังข์ทอง
  • 23 ด.ญ.ธรรม์ชนก สังข์กรด
  • 24 ด.ญ.ธวัลรัตน์ ไกรสมุทร
  • 26 ด.ญ. พรปวีณ์ ลิปิสุนทร
  • 27 ด.ญ.พัชรพร ชื่นช้อย
  • 28 ด.ญ.ภัควิภา ฉันทรัตนโชค
  • 29 ด.ญ.เมธาพร อภิสมัย
  • 30 ด.ญ.ยุวรัตน์ สกุลลิ้ม
  • 32 ด.ญ.ลัลน์ลลิต ภู่อาวรณ์
  • 33 ด.ญ.วศินี เชื้อใหญ่
  • 34 ด.ญ.วิภาวี ศุภผล
  • 35 ด.ญ. ศรันยพร จอมมาบ
  • 36 ด.ญ.ศศิธร อุพันศรี
  • 37 ด.ญ.สุพัตรา แสงอาทิตย์
  • 38 ด.ญ.สุพิชญา วิริยะวงศ์สมุทร
  • 39 ด.ญ.อภิญญา ยิ้มประเสริฐ
  • 40 ด.ญ.อาริญา สาสนะกูล

เกี่ยวกับฉัน

Unknown
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน
เรียบง่าย ธีม. รูปภาพธีมโดย Roofoo. ขับเคลื่อนโดย Blogger.